วิสัยทัศน์ : เป็นหน่วยงานชั้นนำระดับตำบล ในการพัฒนาระบบสุขภาพที่มีคุณภาพ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน นำไปสู่การมีสุขภาพดี

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติความเป็นมา

                    สถานีอนามัยตำบลนราภิรมย์ เริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2513 โดยตั้งอยู่บริเวณริมคลองนราภิรมย์ หมู่ที่ 1 ตำบลนราภิรมย์ อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม เป็นหน่วยบริการสาธารณสุขระดับตำบล เปิดให้บริการประชาชน
                    จนกระทั่งในปีงบประมาณ 2540 ได้รับงบประมาณก่อสร้างสถานีอนามัยทดแทน ตามแบบกระทรวงสาธารณสุข ในวงเงินงบประมาณ 1,806,000 บาท และย้ายที่ตั้งจากเดิม ตามมติสภาองค์การ-บริหารส่วนตำบลนราภิรมย์ในขณะนั้น ให้ดำเนินการก่อสร้างบนเนื้อที่ราชพัสดุ เลขที่ นฐ. 154 ซึ่งเป็น       ที่ตั้งในปัจจุบัน ด้วยเหตุผลความจำเป็นเรื่องความไม่สะดวกในการเข้ารับบริการของประชาชน และ  สถานที่เดิมมีความคับแคบไม่สามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตได้ โดยคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในเรื่องการย้ายสถานีอนามัยได้ร่วมกันจัดหางบประมาณเพิ่มเติมรวมทั้งสิ้น 650,000 บาท

วันที่ 7 พฤษภาคม 2541 สามารถเปิดให้บริการประชาชนอย่างเป็นทางการเมื่อในการนี้ได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ ท่านไชยยศ สะสมทรัพย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีเปิด
เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2544 เริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อเติมอาคารบริเวณชั้นล่างเพื่อใช้ให้บริการดูแลสุขภาพแก่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้พิการ เริ่มดำเนินการและดัดแปลงบริเวณชั้นสองของอาคาร สำหรับใช้เป็นที่ประชุมของอาสาสมัครสาธารณสุข ประชาชน และห้องทำงานด้านการบริหาร พร้อมทั้งจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ที่จำเป็นเพิ่มเติม ดำเนินการแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2544 รวมงบประมาณทั้งสิ้น 540,000 บาท

ปี 2545 เปิดให้บริการทันตกรรม โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนยูนิต และเครื่องมือ ทันตกรรม จาก ปตท.

ปี 2545(เดือนพ.ย.) เปิดให้บริการคลินิกโรคเรื้อรัง

ปี 2554 ได้เปลี่ยนชื่อจากสถานีอนามัยตำบลนราภิรมย์ เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล                               ตำบลนราภิรมย์

26 ต.ค. 2554 เกิดอุทกภัยระดับน้ำชั้นล่างสูง 30 ซ.ม. ต้องย้ายให้บริการชั้นบน ประมาณ 1 เดือน ครึ่ง

ปี 2556 ก่อสร้างบ้านพักข้าราชการระดับ 3-4 จำนวน 1 หลัง และสร้างรั้วคอนกรีตบล๊อกบริเวณด้านหน้ารพ.สต. ยาว 128 เมตร

8 กันยายน 2556 จัดงานทำบุญประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหางบประมาณสมทบการก่อสร้างรั้วคอนกรีตบล็อก พร้อมปรับปรุงอาคารสถานที่เพื่อรองรับการพัฒนาหน่วยบริการ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสุขภาพ ได้รับเงินบริจาค ทั้งสิ้น 710,046 บาท

ปี 2556 ต่อเติมอาคารด้านหน้า พร้อมปรับปรุงรั้วด้านหน้า (โดยใช้งบบริจาค)

ปี 2557 ปรับปรุงโรงจอดรถ อสม.ร่วมใจ(โดยใช้งบบริจาค และกำลังคนจากอสม.)
ปี 2559 ตั้งศาลพระภูมิ โดยขอบริจาค
12 มีนาคม 2560 จัดงานทำบุญประจำปี และทอดผ้าป่าสามัคคี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหางบประมาณ ก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์ คลังยา และห้องน้ำผู้พิการ ห้องน้ำชาย หญิง ได้รับเงินบริจาค ทั้งสิ้น 1,345,359 บาท
19 กรกฎาคม 2561 จัดงานเปิดอาคารรวมใจพัฒน์ และทอดผ้าป่าสามัคคี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อหางบประมาณสร้างศูนย์เรียนรู้พืชสมุนไพร และผักปลอดสารพิษ
 ปี 2561 ปรับปรุงอาคาร รพ.สต.  ลานคอนกรีตหน้ารพ.สต. โรงจอดรถยนต์ โรงจอดรถจักรยานยนต์     มุกหน้าอาคารอเนกประสงค์ จากงบพัฒนา PCC ปี 2562 ปลูกพืชสมุนไพร และผักปลอดสารพิษในแปลงเรียนรู้ ในที่ดินของรพ.สต.
ปี 2562 ปลูกพืชสมุนไพร และผักปลอดสารพิษในแปลงเรียนรู้ ในที่ดินของรพ.สต.
ปี 2563 ปรับปรุงการบริการตามแนวทาง New Normal of medical Service                                           ป้องกันโรค COVID - 19 และซ่อมแซมบ้านพักข้าราชการหลังที่ 2                 
ปี 2564 เปิดบริการNPCU ให้บริการกายภาพ และแพทย์แผนไทยทุกวันศุกร์
ปี2564 ปรับปรุงป้ายรพ.สต.บริเวณรั้ว จากงบบริจาค และปรับพื้นที่รองรับการก่อสร้างบ้านพัก ข้าราชการ 
ปี 2564 เปลี่ยนหลังคารพ.สต.และปรับปรุงห้องประชุม ด้วยงบค่าเสื่อม และต่อเติมปีกหลังคาทั้ง 2 ข้างด้วยเงินบริจาค
ปี 2565 ต่อเติมห้องแพทย์แผนไทย และชายคาด้านหน้ารพ.สต. พร้อมทำสีที่จอดรถผู้พิการ จอดรถฉุกเฉิน




ที่ตั้งและอาณาเขต
         ตำบลนราภิรมย์อยู่ทางทิศใต้ของอำเภอบางเลน  อยู่ห่างจากตัวอำเภอ  ประมาณ 18 กิโลเมตร                            มีพื้นที่ 21,470 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ       พื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับ ตำบลบางภาษี , อำเภอไทรน้อย   จังหวัดนนทบุรี
                   ทิศใต้              ติดต่อกับ ตำบลบางระกำ , ตำบลคลองโยง    อำเภอพุทธมณฑล
                   ทิศตะวันออก    ติดต่อกับ อำเภอไทรน้อย  จังหวัดนนทบุรี
                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ ตำบลคลองนกกระทุง ,ตำบลลำพญา 
สภาพภูมิประเทศ/ภูมิอากาศ
                   ตำบลนราภิรมย์เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำท่าจีน มีคลองไหลผ่านหลายสาย  มีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ จากสภาพที่ตั้ง ภูมิอากาศ เหมาะสมต่อการเพาะปลูก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพภาคเกษตรกรรม เช่น ทำนา  สวนผัก    สวนกล้วยไม้

     ข้อมูลของประชากรที่รับผิดชอบ
๑)จำนวนหมู่บ้าน หลังคาเรือน และประชากร แยกรายหมู่บ้านจากการสำรวจ
    หมู่บ้านที่รับผิดชอบ จำนวน 7 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่ที่ 1,2,3,4,9,10,11  อยู่ในเขต อบต.ทั้งหมด
                  
                              จำนวนหลังคาเรือนทั้งสิ้น    855 หลังคาเรือน 
                              จำนวนประชากรทั้งหมด   2,766 คน
                                ชาย จำนวน   1,369 คน   
                                หญิงจำนวน   1,397  คน
                            
     ตารางที่ 1 แสดงจำนวนหลังคาเรือน และประชากรแยกรายหมู่บ้าน
                     
                       
หมู่ที่
ชื่อหมู่บ้าน
จำนวนหลังคาเรือน
จำนวนประชากรในพื้นที่รับผิดชอบ(คน)
ทะเบียนราษฎร์
การสำรวจ
ทะเบียนราษฎร์
การสำรวจ
ชาย
หญิง
รวม
ชาย
หญิง
รวม
1
คลองนราภิรมย์
147
147
270
273
543
221
216
437
2
คลองนราภิรมย์
99
92
198
204
402
146
155
301
3
คลองนราภิรมย์
160
148
282
283
565
218
208
426
4
คลองสว่างอารมณ์
139
126
271
270
541
215
212
427
9
คลองพระมอพิสัย
126
120
241
237
478
179
174
353
10
หัวคู้
172
154
310
370
680
221
268
489
11
คลองพระมอพิสัยใต้
100
98
216
219
435
169
164
333
รวมทั้งหมด
943
885
1,788
1,856
3,644
1,369
1,397
2,766



ที่มา : จากโปรแกรม HOSXp_pcu ณ วันที่  1  กรกฎาคม 2565



แผนภูมิที่ 1 แสดงโครงสร้างปิรามิดประชากร

          ที่มา:จากโปรแกรม HOSXP_PCU ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
                 จาก ข้อมูลประชากรตามกลุ่มอายุ และโครงสร้างปิรามิดประชากร  พบว่า                    กลุ่มประชากรวัยพึ่งพิง ประกอบด้วย  กลุ่มประชากรเด็ก (อายุต่ำกว่า 15 ปี)  มีร้อยละ 18.19  และ     กลุ่มประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป)   มีร้อยละ 20.17  รวมกลุ่มประชากรวัยพึ่งพิง ร้อยละ 38.36 และประชากรวัยแรงงาน (อายุ 15 ถึง 59 ปี) ร้อยละ 61.64  สรุปว่า ประชากรในพื้นที่                         รับผิดชอบของรพ.สต. ตำบลนราภิรมย์ เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ เพราะ เป็นสังคมที่มีสัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 10  และภาวะทางเศรษฐกิจค่อนข้างดี เพราะ อัตราส่วนพึ่งพิง     เท่ากับ 62.23  นั่นคือ ประชากร วัยแรงงาน 100 คน รับภาระดูแลเด็ก และผู้สูงอายุ ประมาณ 62 คน

ตารางที่ 2 แสดงพื้นที่รับผิดชอบหมอประจำครอบครัวพร้อมอัตราส่วนอสม.ต่อหลังคาเรือน
  




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น